• Welcome to ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:เว็บไซท์อันดับ๑ของวงการท้องถิ่น.
Main Menu

การที่จ้างเหมาบริการรื้อถอนสายไฟฟ้าล้มทับรถยนต์เสียหายเทศบาลต้องรับผิดทางละเมิด

เริ่มโดย นายพรนรินทร์ ภูครองหิน, 27-05-2024, 04:38:48

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

นายพรนรินทร์ ภูครองหิน

กรณีศึกษาการที่เทศบาล ผู้ถูกฟ้องคดี จ้างพนักงานจ้างเป็นลูกจ้างตามภารกิจนาย น.และนาย ธ. ต่อมาภายหลังเป็นผู้รับจ้างเหมาบริการ ได้มอบหมายจากผู้ถูกฟ้องคดีให้รื้อถอนสายไฟฟ้าและสายสื่อสารออกจากเสาไฟฟ้ากันเอง เป็นเหตุให้เสาไฟฟ้าล้มทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่า บุคคลทั้งสองมิใช่เจ้าหน้าที่จึงไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด กล่าวคือ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัตเทศบาล พ.ศ.2496 เดิมพนักงานจ้างเป็นลูกจ้างตามภารกิจของผู้ถูกฟ้องคดี แม้ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดี จะทำสัญญาจ้างบุคคลทั้งสองเป็นผู้รับจ้างเหมาบริการก็ตาม แต่บุคคลทั้งสองก็คงเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของผู้ถูกฟ้องคดี นาย น.และนาย ธ.จึงมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยาม มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัตเทศบาล พ.ศ.2496 นาย น.และนาย ธ.จึงเป็นเจ้าหน้าที่ตามนัย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่า บุคคลทั้งสองมิใช่เจ้าหน้าที่ จึงฟังไม่ขึ้น ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ดังนั้น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี มีผู้ขอมาครับท่าน รายละเอียดขอให้ศึกษาจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อผ. 99/2563 คดีหมายเลขแดงที่ อผ.23/2567 (ค้นโดยนิติกรพร)
<a href="https://www.nitikon.com/document/doc_116597713320240527_104714.pdf" target="_blank">https://www.nitikon.com/document/doc_116597713320240527_104714.pdf</a>
เพื่อพี่น้องท้องถิ่นและประชาชน