ผม สมเกียรติ
วรรณสุทธิ์
นิติกร อบต.เมืองแหง
ขออนุญาตยกเอาตัวอย่างเคสของ
อบต.ตัวเองเป็นข่าวตั้งต้นในลักษณะการเล่าสู่กันฟัง
เริ่มต้นจากที่ผมได้เข้ามาทำงานเมื่อ
1 พย. 2547 ซึ่ง
เงินกู้ตามโครงการเงินกู้
เศรษฐกิจชุมชน
เขามีการปล่อยกู้ไปในราว
ปี 2543 -44
ดังนั้นเมื่อครบกำหนดสัญญา
ตามระเบียบว่าด้วยโครงการเงินกู้เศรษฐกิจชุมชน
5 ปี ก็คือ
ประมาณ
สิ้นเดือน
กันยายน
2549
ต้องมาค้นเรื่องเดิมซึ่งหายากมาเพราะย้ายที่ทำการอบต.ใหม่ทางส่วนการคลัง
ก็ได้นำเอาเอกสารที่เขาทำสัญญาไว้ตั้งแต่
ปี 2543 ออกมา
ปัดฝุ่น(
ซึ่งพนักงานที่นี่ใหม่หมด)
ส่วนการคลังได้
แจ้งทวงเงินเบื้องต้นผ่านไปทาง
สมาชิกสภา
อบต. ซึ่ง
ทั้งหมดมี 12
หมู่บ้าน
หมู่บ้านละ 1
แสนบาท
ก็ปรากฏว่า
มีประมาณ 9
หมู่บ้านที่ไม่มีปัญหา
คืนเงินมาหมด
ตามสัญญาและตามวันเวลาที่กำหนด
แต่มีบางหมู่บ้านซึ่งโยกโย้
เมื่อมีปัญหา
ทางคลังทำหนังสือทวงถามไป
1 ครั้ง ก็ยัง
ไม่จ่าย
ทางผู้บริหารจึงให้โอนมายังผมซึ่งเป็นนิติกร
ในการติดตามทวงหนี้ต่อไป
เมื่อผมรับมาก็
ทำโนติส
หรือหนังสือทวงถามหนี้ไป
โดยเบื้องต้น
ยังไม่ขู่หนักว่า
จะฟ้อง
- เคสหมู่บ้านแรก
ทางสมาชิกผู้กู้ทำหนังสือแจ้งมาว่าโครงการเลี้ยงสุกร
เกิดภาวะขาดทุนเพราะหมูเป็นโรค
ระบาดอหิวาห์
ผมกับรองนายกฯก็ออกสืบถาม
ชาวบ้าน
ก็ทราบว่าหมูเกิดโรคระบาดจริง
แต่ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเงินต่อนั้น
เขาก็ได้ชำระเข้ากองกลางมาหมดแล้ว
แต่ผู้เก็บเงิน
ไม่ยอมที่จะนำเงินมาคืน
อบต.
แต่ทำหนังสือแจ้งมาขอผ่อนผัน
เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย
ผมได้แจ้งในสภาฯว่า
จะมา
อ้างเหตุสุดวิสัยมิได้
เพราะการอ้างต้องให้ทางจังหวัดประกาศเป็นเขตโรคระบาด
อหิวาห์สุกร
แต่นี่ไม่ได้ประกาศ
(แต่ความจริงประเด็นใจรู้ว่าเขาคืนเงินมาแล้วแต่ไม่
อยากพูดประเด็นนี้ขึ้นมากลัวมีปัญหา)
สรุปเคสหมู่บ้านนี้คนที่เก็บเงินก็ยอมนำเงินมาคืน
อย่างไม่มีปัญหาและท่ามกลางความโล่งใจของผม
- เคส
หมู่บ้านที่ 2
กรณีนี้
ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกู้ย่อยกันไปนั้น
เขาได้แจ้งทาง
อบต.ว่าเขาคืนให้เหรัญญิก
(ที่เคยเป็นอดีต
สอบต.หมู่ นี้
และทำเรื่องกู้กันเองออกไป)
คือคืนมาครบทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี
2543และ 2544 นั้นเอง
แต่ปรากฏว่าเหรัญญิกเก็บเงินไว้
แล้วไม่นำส่งใช้คืน
อบต.
โดยนำเงินนั้นไปใช้ผิดประเภท
เช่นปล่อยกู้และลงทุนส่วนตัว
จนถึงกำหนดชำระ
อบต.
อ้างว่าไม่สามารถนำมาชำระได้
ผมทำหนังสือไป
2 -3 ฉบับ
เพื่อแจ้งว่าจะฟ้องแล้ว
คนที่เดือดร้อนและที่ผมจะฟ้องมิใช่เหรัญญิกคนเดียว
แต่เป็นทั้งกลุ่ม
สมาชิกที่รวมชื่อกันเป็นกรรมการมากู้เงิน
แต่กรรมการเหล่านั้นไม่รู้จำทำไง
เพราะเธอคนนั้น
ก็ไม่ยอมซ้ำเถียงด่าคณะกรรมการ
เวลาเขาเรียกประชุมกลุ่มเพื่อชี้แจงก็ไม่ไป
ผมจึงแนะนำ
คณะกรรมการ
เพราะยังไม่อยากลงดอยไปฟ้องมันไกล
เมารถ
ผมบอกให้ไปแจ้งความที่
โรงพักเผื่อเธอจะกลัวยอมคืนให้
ก็ปรากฏว่าชาวบ้านเขาบอกผมมาว่าเธอท้าให้ไปแจ้งเลย
ไม่กลัวเอาทักษินมาก็ไม่กลัว
ชาวบ้านจึงไปแจ้งความโรงพัก
จนท.ตำรวจเชิญเธอมา
พูดคุยกันไกล่เกลี่ยที่โรงพักก่อน
และเรียกผมไปด้วย
ดูท่าทางเธอจะไม่กลัวและไม่สนใครทั้งสิ้น
ปรากฏว่าเธอยอมอ่อนข้อให้หน่อย
บอกจะใชัอีก3
วัน พร้อมดอก
ลงบันทึกประจำวัน
ลงลายมือชื่อกันทั้งหมด
และผมกับ
สารวัตรสอบสวนนั้นก็ลงเป็นพยาน
จนแล้วจนรอดวันศุกร์ก็แล้วเธอไม่มาโทรมาอ้างขอเลื่อน
บอกว่าคนที่กู้ไปยังไม่มาคืน
ผมทำหนังสือไปที่กลุ่มคณะกรรมการอีกรอบ
คราวนี้คณะกรรมการไม่ยอมจะไปแจ้งความอีก
เพราะชาวบ้านไม่ค่อยอยากลงดอยไปขึ้นโรงขึ้นศาลเท่าไหร่ลงดอยไกลเป็นร้อยๆกิโล
เสียเวลาทำมาหากินทั้งๆที่เขาไม่ผิด
เพราะเขาใช้เงินมาแล้ว
จะไปแจ้งทางอาญายักยอกทรัพย์
เพราะผมแนะนำไป
เพื่อให้เธอคนนั้นกลัวยอมคืนแต่โดยดี
ปรากฏว่าผมลืมดูอายุความ
เจ้าหน้าที่แจ้งผมมาว่า
อายุความยักยอกทรัพย์
3
เดือนนับจากวันที่รู้ความผิด
ซึ่งชาวบ้านคืนเงินมานั้น
ตั้งแต่ ปี 43 -44
ซึ่งเขาก็รู้ว่าเธอคนนี้เอาเงินไปแล้วไม่คืน
อบต.
ปล่อยเวลาล่วงเลยเกิน
3 เดือน
จึงฟ้องอาญามิได้
ฟ้องเรียกได้ทางแพ่ง
วันนี้เธออ่อนข้อให้อีกยอมจ่าย
5
หมื่นบาทก่อน
และนัดว่าสิ้นปี
49
จะมาจ่ายที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย
ชาวบ้านก็พอใจ
ไม่แจ้งความไว้วันนั้น
จากนั้นถึงสิ้นปี
49
รอแล้วไม่มาอีก
ผมทำหนังสือทวงถามไปคณะกรรมการอีกครั้ง
คราวนี้ชาวบ้านสุดจะทน
ลงไปฟ้องข้างล่างเป็นฟ้อง
แต่ขอไปแจ้งความตำรวจไว้อีกก่อน
ซึ่งคราวนี้ผมบอกสภาฯว่าจะฟ้องแล้วจริงๆ
ให้สมาชิกไปแจ้งอีกครั้งสุดท้าย
คราวนี้เธอก็เฉยอีก
2-3 วัน
ผมเตรียมขยับตัวที่จะลงดอยแล้ว
ปรากฏว่าก็โชคดีอีกที่
หลานของเธอ
กลับมาจากกรุงเทพฯโดย
เขาจบนิติศาสตร์มาด้วย
เขาก็แนะนำน้าเขาว่าถ้าเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาลมา
มันไม่ดีให้ไปจ่ายเสีย
(เพราะแฟนเธอคนนี้ก็เป็นถึงอาจารย์)
เธอยอมฟังและยอมมาคืนเงินพร้อมดอกที่เหลือแต่โดยดี
เฮ้อ! โล่งอก
- เคสกรณี
หมู่บ้านที่ 3
ก็ค้างไม่เยอะทยอยจ่ายมาเรื่อยๆ
โดยสมาชิกกลุ่มกู้เขาจ่ายเป็นคนๆ
ไม่รวมมาจ่าย
แต่การรับผิดชอบต้องรับเป็นกลุ่ม
ผมก็เห็นใจคนที่ใช้มาแล้วส่วนของตัวเอง
เอาเข้าสภาฯก็แจ้งให้ทำหนังสือเป็นรายตัวที่ค้างกู้จากกลุ่มไปเท่าไหร่ทวงเท่านั้น
มีปัญหาบางคน
เพราะชาวบ้านเป็นลีซอ
ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย
สุดท้ายค้างประมาณ
9
พันกว่าบาทผม
แนะนำสมาชิก
อบต.
ให้ออกมาก่อนเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาแล้วค่อยไปทวงกับคนที่ค้างเอง
โดยให้เขาทำเป็นสัญญาเงินกู้
เพื่อที่ว่าจ่ายมาครบเสร็จจะได้กู้ออกไปใหม่ได้
จากนั้นสมาชิกก็ทำตามที่ผม
แนะนำ
ก็รอดตัวไปอีก
1 หมู่บ้าน
- เคสหมู่บ้านสุดท้าย
ค้างเยอะเหมือนกัน
8 หมื่นบาท
เพราะคนที่กู้ไปเขามาคืนส่วนตัว
ทำหนังสือไป
ประมาณ 6-7
ฉบับยังนิ่งอยู่เนื่องจากหลายเหตุผล
เช่น
สมาชิกไม่อธิบายให้
ลูกบ้านเข้าใจ
ปัญหาเครือญาติในหมู่บ้านลีซอนั้นฯลฯ
จนเตือนฉบับสุดท้ายจริงๆ
กลุ่มประธาน
กับสมาชิกขอเข้ามาคุยที่อบต.
ผมกับนายกอธิบายให้เขาเข้าใจ
เขาบอกว่าเขาขาดทุนจากการ
ปลูกกะหล่ำแต่นี่ให้โอกาส
5 ปี แล้ว
อย่างไรแล้วให้เขาเอามาคืนก่อน
เพื่อกู้ไปใหม่
ตัดปัญหาการขึ้นศาลเสีย
เวลาทำมาหากินสิ้นเปลืองเวลา
ค่าเดินทาง
ชาวบ้านก็บอกว่าสมาชิก
อบต.
ที่ส่งหนังสือสักแต่ว่า
ส่งๆ
ไม่อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ
ตรงนี้ผมก็โดนโทรศัพท์ข่มขู่
แถมวันที่ลงไปประชุมสัมมนา
1 ทศวรรษ
พนักงานส่วนตำบล
ขณะที่นั่งรถตู้ลงจากดอยก็ต้องผ่านหมู่บ้านลีซอนี้
มีชาย
ฉกรรจ์คนหนึ่งโบกรถตู้
ซึ่งดีที่ลุงคนขับ
ขับเลี่ยงไม่จอด
เพราะมีเคสที่วัยรุ่นบ้านนี้ดัก
รถตู้และตบหน้าคนขับ
ผมเสียวสันหลังวาบ
ถึงที่จอดข้างล่างดอยผมถามลุงคนขับว่าปกติ
มีคนมาโบกไหม
ลุงบอกไม่มี
เพราะรถตู้นี้เขาจะจองและขึ้นเต็มที่ต้นทางแล้ว
ไม่จอดรับรายทาง
ผมรีบประสานนายกฯ
จนท.ตำรวจไว้ก่อน(อาจตื่นตูมมาก)
ก็สุดท้าย
ประธานกลุ่มลูกสมาชิกเข้าใจยอมมาจ่ายแต่โดยดี
เหมือนยกภูเขาออกจากอกอันน้อยๆนี้
ก็มีอีกหลายเคสหลายกรณีที่เพื่อๆโทรมาเล่าให้ฟัง
เช่น
คนกู้เป็นญาตินายก
พอหนังสือบันทึกข้อความขึ้นแจ้งนายกทราบว่าต้องดำเนินการอย่างนี้นะ
ก็ปรากฏว่าเข้าลิ้นชักหายแซ๊บ
นี่ก็เป็น
กรณีของผมที่อยากเล่าให้ฟังความจริงท้องเรื่องยาวกว่านี้แต่สรุปมาสั้นๆย่อที่สุดแล้ว
ฝ่าฟันการเรียกมาคุยกันหลายๆบ้าน
ฯลฯตอนนี้ทางส่วนการคลังก็ปล่อยกู้คืนไปแล้วทุกหมู่บ้าน
โดยทำสัญญารัดกุมกว่าเดิม
และดูเอกสารแน่นกว่าเดิมครับ
ใครมีเคสใดปัญหาไหนมาเล่าสู่กันฟังเพื่อแก้ไขปัญหาให้กันครับผม
รักและเคารพทุกท่าน
14/03/2550
ให้หน้าข่าวและกระทู้นี้เป็นกระทู้เดียวที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น/กรณีมีปัญหาหรือ
แนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ของโครงการเงินกู้เศรษฐกิจชุมชน